วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้องหมีโคอาล่า

หมีโคอาลาน่ารัก (Koala)
 
 
หมีโคอาลา

โคอาล่าไม่ใช่สัตว์ในตระกูลหมี แต่จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์จำพวกจิงโจ้ ตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ จากการที่มันมัลักษณะรูปร่าง หน้าตาเหมือนหมี ทำให้คนส่วนมากเรียกมันว่า หมีโคอาล่า


ประวัติ
ค.ศ. 1798 มีบันทึกครั้งแรกสุดที่พบโคอาล่า พบโดยชาวยุโรปชื่อ John Price ค.ศ. 1803 ข้อมูลรายละเอียดของโคอาล่าเริ่มถูกตีพิมพ์ใน Sydney Gazette ค.ศ. 1816 นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส Blainwill ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้ ชื่อว่า Phascolarctos ซึ่งมาจากภาษากรีก โดยเกิดจากคำ 2 คำ รวมกัน คือคำว่า กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้ และคำว่า หมี (leather pouch และ bear) ต่อมานักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Goldfuss ได้ตั้งชื่อที่เฉพาะเจาะจงลงไปเป็น cinereus ซึ่งหมายถึง สีขี้เถ้า



ขนาดและน้ำหนัก
โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้จะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น โดยตัวผู้สูงประมาณ 30.8 นิ้ว หรือ 78 ซ.ม. ในขณะที่ตัวเมียสูงประมาณ 28 นิ้ว หรือ 72 ซ.ม. โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 26 ปอนด์ หรือ 11.8 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 17.4 ปอนด์ หรือ 7.9 กิโลกรัม โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ย 14.3 ปอนด์ หรือ 6.5 กิโลกรัม ในขณะน้ำหนักเฉลี่ยของตัวเมียอยู่ที่ 11.2 ปอนด์ หรือ 5.1 กิโลกรัม โคอาล่าแรกเกิดมีน้ำหนักเพียง 0.5 กิโลกรัม เท่านั้น ลักษณะขน โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า โคอาล่ามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น


ลักษณะขน
โคอาล่าที่อยู่ทางตอนใต้มีขนที่หนาเหมือนขนแกะ บริเวณหลังจะมีขนที่หนาและยาวกว่าบริเวณท้อง
โคอาล่าที่อยู่ทางตอนเหนือมีขนที่สั้นกว่า


โคอาล่ามีขนหนาที่สุดเมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆในตระกูลจิงโจ้ ขนมีสีเทา ถึง น้ำตาลปนเหลือง และมีสีขาวบริเวณคาง หน้าอก และด้านหน้าของแขน-ขา ขนบริเวณหูมีลักษณะเป็นปุย และมีขนสีขาวที่ยาวกว่าบริเวณอื่น



ถิ่นที่อยู่อาศัย
โคอาล่าอาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นยูคาลิปตัส ปัจจุบันเราพบโคอาล่าที่ ควีนแลนด์ นิวเซาท์เวลล์ วิคตอเรีย และ ออสเตรเลียตอนใต้


อาหาร
โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัสเป็นอาหารฟันและระบบย่อยอาหารถูกพัฒนามาให้สามารถกินและย่อยใบยูคาลิปตัสได้ ใบยูคาลิปตัวมีสารอาหารน้อยมาก และยังมีสารที่มีพิษต่อสัตว์แต่ระบบย่อยอาหารของโคอาล่ามีการปรับตัว ทำให้สามารถทำลายพิษนั้นได้ โคอาล่ามีอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการย่อยไฟเบอร์ (ส่วนประกอบหลักของใบยูคาลิปตัส) ยาวมากถึง 200 ซ.ม. ที่บริเวณอวัยวะนี้ จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยไฟเบอร์ให้กลายเป็นสารอาหารที่ดูดซึมได้ อย่างไรก็ตาม โคอาล่ามีการดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยไฟเบอร์ไปใช้เพียงแค่ 25 % ของที่มันกินไปเท่านั้น ส่วนน้ำในใบยูคาลิปตัสส่วนใหญ่ถูกดูดซึม ทำให้โคอาล่าไม่ค่อยหาน้ำกินจากแหล่งน้ำ


ส่วนใหญ่โคอาล่ากินใบยูคาลิปตัวประมาณวันละ 200 ถึง 500 กรัม


โดยปกติมันจะนอนถึง 16-18 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อรักษาพลังงานไว้


การติดต่อสื่อสาร
โคอาล่าใช้เสียงในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเสียงที่ใช้มีหลายลักษณะ โดยทั่วไปตัวผู้มักส่งเสียงร้องดังเพื่อประกาศหรือบอกบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ในขณะที่ตัวเมียจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ตัวเมียจะส่งเสียงร้องดังเมื่อมีอาการกร้าวร้าว สำหรับโคอาล่าตัวเมียที่มีลูกอ่อน จะใช้เสียงที่มีความอ่อนโยนกับลูกของตนเอง เมื่อเกิดความกลัวขึ้น โคอาล่าทั้งตัวผู้และตัวเมียจะใช้ส่งเสียงคล้ายเสียงเด็กร้องไห้


นอกจากนี้ โคอาล่ายังใช้กลิ่นของตนเองทำเครื่องหมายตามต้นไม้ที่ต่างๆ ในการติดต่อถึงกันอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น